Power Factor
คือ อัตราส่วน ระหว่างกำลังไฟฟ้าที่ใช้จริง (วัตต์) กับ กำลังไฟฟ้าปรากฏ หรือกำลังไฟฟ้าเสมือน (VA) ซึ่ง ค่าที่ดีที่สุด คือ มีอัตราส่วนที่เท่ากัน จะมีค่าเป็นหนึ่ง แต่ในทางเป็นจริงไม่สามารถทำได้ ซึ่งค่า Power Factor เปลี่ยนแปลงไปตามการใช้ LOAD ซึ่ง Load ทางไฟฟ้ามีอยู่ 3 ลักษณะ คือ
1. Load ประเภท Resistive หรือ ความต้าน จะมีค่า Power Factor เป็นหนึ่ง อันได้แก่ หลอดไฟฟ้าแบบใส้ เตารีดไฟฟ้า หม้อหุงข้าว
เครื่องทำน้ำอุ่น เป็นต้น ถ้าหน่วยงานหรือองค์กร มี Load ประเภทนี้เป็นจำนวนมาก ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องปรับปรุงค่า Power Factor
2. Load ประเภท Inductive หรือ ความเหนี่ยวนำ จะมีค่า Power Factor ไม่เป็นหนึ่ง อันได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้ขดลวด เช่น มอเตอร์
บาลาสก์ของหลอดฟลูออเรสเซนต์ หลอดแกสดิสชาร์จ เครื่องปรับอากาศ เป็นต้น จะเห็นได้ว่าหน่วยงานหรือองค์กรส่วนใหญ่ จะหลีกเลี่ยง
Load ประเภทนี้ไม่ได้ และมีเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะทำให้ ค่า Power Factor ไม่เป็นหนึ่ง และ Load ประเภทนี้จะทำให้ค่า Power Factor
ล้าหลัง ( Lagging ) จำเป็นที่จะต้องปรับปรุงค่า Power Factor โดยการนำ Load ประเภทให้ค่า Power Factor นำหน้า ( Leading )
มาต่อเข้าในวงจรไฟฟ้าของระบบ เช่น การต่อชุด Capacitor Bank เข้าไปในชุดควบคุมไฟฟ้า
3. Load ประเภท Capacitive หรือ Load ที่มีตัวเก็บประจุ (Capacitor) เป็นองค์ประกอบ Load ประเภทนี้จะมีใช้น้อยมาก จะมีค่า Power Factor
ไม่เป็นหนึ่ง Load ประเภทนี้จะทำให้ค่า Power Factor นำหน้า ( Leading ) คือกระแสจะนำหน้าแรงดัน จึงนิยมนำ Load ประเภทนี้
มาปรับปรุงค่า Power Factor ของระบบที่มีค่า Power Factor ล้าหลัง เพื่อให้ค่า Power Factor มีค่าใกล้เคียงหนึ่ง
ข้อดี ของการปรับปรุง ค่า Power Factor
- กระแสไฟฟ้าที่ไหลในวงจรไฟฟ้าลดลง
- หม้อแปลง และสายเมนไฟฟ้า สามารถรับ Load เพิ่มได้มากขึ้น
- ลดกำลังงานสูญเสียในสายไฟฟ้าลง
- ลดแรงดันไฟฟ้าตก
- เพิ่มประสิทธิภาพระบบไฟฟ้าทั้งระบบ
อ้างอิงจากลิ้งอันนี้นะครับ http://homepage.eng.psu.ac.th/adm/akarn/electric-basic.htm
วันศุกร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2553
80PLUS
80PLUS มันก็คือ มาตรฐานรับรองสำหรับ PSU ที่มีค่า Power Efficiency ที่สูงกว่า 80% ขึ้นไปนั่นเองครับ ซึ่งผมก็เคยแปลและอธิบายเป็นภาษาไทยไว้ส่วนหนึ่งดังนี้ครับ
Power Efficiency
ค่าของ Power Efficiency ของ power supply คืออะไร ?
ความหมายของมันคือ ค่าประสิทธิภาพของพลังงาน อย่างแรกเลยก็คือ ค่า Power Efficiency นี้ยิ่งมากเท่าไหร่ก็ยิ่งดี อธิบายต่อได้ คือ เนื่องจากจำนวนกระแสไฟฟ้า 220 V. ที่ไหลจากปลั๊กไฟผ่านเข้ามายังตัว power supply เพื่อแปลงแรงดันไฟลงมาเป็นไฟแรงดันต่ำ เช่น 12 V., 5 V., 3.3 V. จะไม่สามารถแปลงได้ 100% เพราะ จะมีการสูญเสียของค่าพลังงานในกระบวนการ ซึ่งการสูญเสียพลังงานเหล่านี้ อาจจะมาจากตัวเก็บประจุต่างๆ, การรั่วไหลของกระแสไฟฟ้าจากตัววงจรเองและอื่นๆ พอจะ อธิบายในอีกทางหนึ่งก็คือ สมมุติว่าคอมพิวเตอร์ของคุณต้องการใช้กำลังไฟฟ้า 500 w. ตัว power supply มันก็จะกินไฟจากโรงไฟฟ้ามากกว่านั้นนั่นเอง ยกตัวอย่างเช่น
ถ้าคุณใช้ power supply ทั่วๆไปที่มีค่าประสิทธิภาพประมาณ 70% สมมุติว่าโหลดที่คุณใช้งานกินพลังงาน 350 w. ก็คำนวณโดยสูตร
( พลังงานที่โหลดต้องใช้ / ค่าประสิทธิภาพ x 100 )
นั่นคือ (350/70x100) = 500 w. ระบบของคุณก็จะกินไฟจริงๆจากปลั๊กไฟเท่ากับ 500 w. ดังนั้นหากคุณใช้คอมพิวเตอร์นานๆหรือแทบไม่ค่อยจะได้ปิดเครื่อง ก็อย่างลืม ทฤษฎีนี้เพราะมันจะมีส่วนช่วยให้คุณประหยัดได้ในระยะยาว
" ตัว power supply ที่มีค่า efficiency สูงๆ จะเกิดการสูญเสียพลังงานโดยเปล่าประโยชน์ต่ำ และยังทำให้ประหยัดค่าไฟฟ้าได้อีกด้วย "
สำหรับผู้ที่ต้องการอ่านบทความการทดสอบกลุ่มที่ผมเคยทดสอบไว้ตั้งแต่ปีก่อนก็สามารถกดดูได้นะครับ PSU Roundup
http://gamenpc.net/css/review/hardware/year2007/powersupply_roundup01/1.html
ซึ่งตอนนั้นมี PSU ไม่กี่ตัวที่มีมาตรฐาน 80PLUS ครับ แต่ปัจจุบันเริ่มมีเข้ามาบ้านเราหลายตัวแล้ว ไว้ถ้ามีโอกาสผมจะจับมาเทสกลุ่มกันอีกทีครับ
Power Efficiency
ค่าของ Power Efficiency ของ power supply คืออะไร ?
ความหมายของมันคือ ค่าประสิทธิภาพของพลังงาน อย่างแรกเลยก็คือ ค่า Power Efficiency นี้ยิ่งมากเท่าไหร่ก็ยิ่งดี อธิบายต่อได้ คือ เนื่องจากจำนวนกระแสไฟฟ้า 220 V. ที่ไหลจากปลั๊กไฟผ่านเข้ามายังตัว power supply เพื่อแปลงแรงดันไฟลงมาเป็นไฟแรงดันต่ำ เช่น 12 V., 5 V., 3.3 V. จะไม่สามารถแปลงได้ 100% เพราะ จะมีการสูญเสียของค่าพลังงานในกระบวนการ ซึ่งการสูญเสียพลังงานเหล่านี้ อาจจะมาจากตัวเก็บประจุต่างๆ, การรั่วไหลของกระแสไฟฟ้าจากตัววงจรเองและอื่นๆ พอจะ อธิบายในอีกทางหนึ่งก็คือ สมมุติว่าคอมพิวเตอร์ของคุณต้องการใช้กำลังไฟฟ้า 500 w. ตัว power supply มันก็จะกินไฟจากโรงไฟฟ้ามากกว่านั้นนั่นเอง ยกตัวอย่างเช่น
ถ้าคุณใช้ power supply ทั่วๆไปที่มีค่าประสิทธิภาพประมาณ 70% สมมุติว่าโหลดที่คุณใช้งานกินพลังงาน 350 w. ก็คำนวณโดยสูตร
( พลังงานที่โหลดต้องใช้ / ค่าประสิทธิภาพ x 100 )
นั่นคือ (350/70x100) = 500 w. ระบบของคุณก็จะกินไฟจริงๆจากปลั๊กไฟเท่ากับ 500 w. ดังนั้นหากคุณใช้คอมพิวเตอร์นานๆหรือแทบไม่ค่อยจะได้ปิดเครื่อง ก็อย่างลืม ทฤษฎีนี้เพราะมันจะมีส่วนช่วยให้คุณประหยัดได้ในระยะยาว
" ตัว power supply ที่มีค่า efficiency สูงๆ จะเกิดการสูญเสียพลังงานโดยเปล่าประโยชน์ต่ำ และยังทำให้ประหยัดค่าไฟฟ้าได้อีกด้วย "
สำหรับผู้ที่ต้องการอ่านบทความการทดสอบกลุ่มที่ผมเคยทดสอบไว้ตั้งแต่ปีก่อนก็สามารถกดดูได้นะครับ PSU Roundup
http://gamenpc.net/css/review/hardware/year2007/powersupply_roundup01/1.html
ซึ่งตอนนั้นมี PSU ไม่กี่ตัวที่มีมาตรฐาน 80PLUS ครับ แต่ปัจจุบันเริ่มมีเข้ามาบ้านเราหลายตัวแล้ว ไว้ถ้ามีโอกาสผมจะจับมาเทสกลุ่มกันอีกทีครับ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
มาอัฟเกรด เครื่องถอดรหัสเสียง Cambridge DacMagic 100 upgrades
โมดิไฟล์ Cambridge DacMagic 100 โดยการเปลี่ยนตัวเก็บประจุ เป็นชนิด capacitor audio grade เปลี่ย capacitor ตำแหน่ง output ค่า 100uf 25v จ...
-
กลุ่มอาการเสียของคอมพิวเตอร์ ลักษณะอาการเสียของเครื่องคอมพิวเตอร์ เราสามารถแบ่งได้เป็น 5 กลุ่มอาการ ดังนั้นในการตรวจหาสาเหตุของอาการ ...
-
หลายท่านอาจจะรู้จักเว็บที่ให้เราสร้างแบบสอบถามออนไลน์ได้ อย่างเช่น surveymonkey.com esurveyspro.com หรือ polldaddy.com เว็บไซต์พวกนี้ให้คุ...
-
บทความย่อยๆที่พบเจอกันคือตั้งค่าอินเตอร์เน็ต 3Gอย่างไร บางเครื่องไม่ได้โหลดการตั้งค่าให้อัตโนมัติ สิ่งที่ทำได้คือการตั้งค่าด้วยตนเอง วันนี...